วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แสดงความคิดเห็นต่อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาออกแบบอัตลักษณ์

ให้นักศึกษาตอบสรุปและแสดงความคิดเห็นต่อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาออกแบบอัตลักษณ์ลงในโพสต์นี้ เรียนจนจบภาคเรียนที่ 1/2557แล้ว นักศึกษาได้ความรู้และประสบการณ์อะไรบ้าง จงตอบโดยแสดงความคิดเห็นต่อโพสต์นี้ ที่นี่ ในประเด็นดังต่อไปนี้คือ ให้ครบถ้วน 
1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม
2.ด้านความรู้
3.ด้านปัญญา
4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
5.ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
6.ด้านทักษะวิชาชีพ
7.ดังหลักฐานแสดงคือ แจ้งชื่อ-นามสกุล และกลุ่มเรียน
1.เว็บบล็อกสรุปผลการเรียนรู้ส่วนตัว ชื่อที่อยู่ URL:......
2.ได้สรุปเล่มรายงานผลการออกแบบตามโครงการออกแบบส่วนบุคคลปลายภาคเรียน( Individual Final Design Project) ในรายวิชานี้ โดยได้เผยแพร่ออนไลน์เป็นหนังสือออนไลน์ไว้ที่เว็บไซต์ที่ http://issuu.com/.........สามารถคลิกเชื่อมโยงเข้าอ่านเอกสารโดยตรงได้ตามที่อยู่ URLเอกสารโดยตรงตามลิงค์นี้คือ...........
ต้อง Login ก่อนตอบกระทู้นี้

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การออกแบบอัตลักษณ์ (Corporate Identity Design)

การออกแบบอัตลักษณ์หรือที่เคยเรียกกันว่าเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ เป็นสื่อแสดงความหมาย เงื่อนไขข้อตกลงต่างๆที่แสดงนัยแห่งความคิดหรือการรับรู้ไว้ในรูปแบบที่เป็นทัศนสัญลักษณ์ ซึ่งอาจจะมีรูปร่างลักษณะต่างกันออกไป ดังพอที่จำแนกได้เป็นหลากหลายลักษณะ และมีคำศัพท์เรียกชื่อเฉพาะที่แตกต่าง ออกไปดังเช่น

1.Symbol หรือสัญลักษณ์ มีลักษณะเป็นเครื่องหมาย ที่ไม่ใช่ตัวอักษรประกอบใช้สำหรับแสดงบอกถึงการรวมกัน เช่น บริษัท องค์กร สถาบัน ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยกฎหมาย
2.Pictograph หรือภาษาภาพ ไม่ใช้ภาษาทางตัวอักษรประกอบแต่ใช้ภาพบอกแทนหรือสื่อความหมายด้วยภาพให้ทราบถึงทิศทาง กิจกรรมหรือแทนสิ่งเฉพาะ เช่น เครื่องหมายบอกทิศทาง การคมนาคมความปลอดภัย
3.Letter Mark หรือเครื่องหมายตัวอักษร มักอยู่ในรูปตัวอักษรที่เกิดจากการย่อเอาตัวอักษรออกมาจากคำเต็ม หรือชื่อเต็มขององค์กร บริษัท สถาบันต่างๆ ออกมาใช้เป็นเครื่องหมายแสดงแทน
4.Logos เป็นชื่อหรือคำเต็มที่เป็นตัวอักษรและอ่านออกเสียงได้ตามหลักไวยากรณ์
5.Combination Marks เป็นการผสมผสานระหว่างภาพและตัวอักษร เข้ามาใช้ร่วมกันและสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม(Constant Space Relationship)
6.Trademarks หรือเครื่องหมายการค้า ซึ่งอาจจะมีได้หลายลักษณะดังที่ได้กล่าวไว้ทั้ง 5 ประการ ขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการต้องการให้เครื่องหมายของตนเองอยู่ในรูปลักษณ์แบบใด ก็เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

       ในเรื่องของการออกแบบสัญลักษณ์ และเครื่องหมายนั้นผู้ออกแบบสามารถสร้างสรรค์รูปลักษณ์ขึ้นได้หลายระดับตามความสามารถของการรับรู้ทางสายตา และระดับสติปัญญาการเรียนรู้ของมนุษย์ ซึ่งผู้ออกแบบสามารถคิดทำให้ปรากฏออกมา และให้ผลต่อความรู้สึกต่อการรับรู้ในความ หมายตั้งแต่รูปธรรม ถึงนามธรรมได้เป็นลำดับขั้นต่างๆ ดังนี้คือ

1.ขั้นใช้ภาพของจริง(Exact Picture)เป็นการใช้ภาพเสมือนจริง เช่น ภาพถ่าย (Photograph)
2.ขั้นผันแปรภาพ(Altered Picture)ด้วยเทคนิคสร้างสรรค์ภาพแบบต่างๆในแนวของภาพ ประกอบ(Illustration)
3.ขั้นใช้รูปร่างง่ายๆ(Simplified Picture) เรียกว่า“GLYPH”เช่น การใช้ภาพลายเส้น เป็นต้น
4.ขั้นใช้คำอ่านออกเสียง (Phonic Name) โดยใช้ตัวอักษรผสมกันเป็นคำตามหลักไวยากรณ์ภาษาหรือที่เรียกว่า“Logo”ขั้นใช้ตัวอักษร(Letters Only)หรือที่เรียกว่า “Letter Mark”เป็นการใช้ตัวพยัญชนะในภาษาเพียงเท่านั้น
5.สัญลักษณ์แบบนามธรรม(Abstract)เป็นขั้นตอนของการใช้สัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นมาแทนความหมายเฉพาะอย่าง ที่ผู้รับรู้จะต้องผ่านการเรียนรู้มาแล้วระดับหนึ่ง(Must be learned)